จีดีพีไทยโค้งแรกโต 2.7% จับตาตั้งรัฐบาลใหม่ งบปี67ล่าช้าไม่ทันปีนี้

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในไตรมาสแรกปี 66 ขยายตัว 2.7% เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.4% โดยภาวะเศรษฐกิจมีการขยายตัวแม้บางกลุ่มจะหดตัว แต่การท่องเที่ยวฟื้นและการบริโภคยังสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโต โดยยังคาดการณ์จีดีพีปี 66 ไว้ที่ช่วง 2.7-3.7% หรือมีค่ากลาง 3.2% ตามเดิม ซึ่งยอมรับการเบิกจ่ายภาครัฐในไตรมาสสุดท้ายของปี 66 จะสะดุด เพราะการใช้งบประมาณปี 67 จะล่าช้าออกไปจากเดิม กระทบกับไตรมาสแรกของปีงบ 67 หรือเดือน ต.ค.-ธ.ค. 66 อาจไม่มีเงินลงทุนใหม่ มีแต่งบผูกพันสัญญาข้ามปีไว้และใช้งบประมาณไปพลางก่อน คาดงบปี 67 จะเริ่มใช้ได้ไตรมาสแรกปี 67 ระหว่างเดือน ม.ค.-มี.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 67

สำหรับสิ่งสำคัญคือ การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ในช่วงหลังเลือกตั้ง และเร่งรัดกระบวนการงบประมาณปี 67 ถ้ามีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ได้เร็ว จะเสนองบปี 67 ได้เดือน ก.ยคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด. 66 ก็จะมีงบลงทุนจากรัฐวิสาหกิจออกมาได้ส่วนหนึ่งในปีนี้ ซึ่งงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปีงบ 67 อาจมีอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท ที่ต้องเร่งรัดเบิกจ่ายช่วงต้นปีงบประมาณ โดยมองว่าการจับมือจัดตั้งรัฐบาลต้องเปลี่ยนผ่านไปอย่างราบเรียบไม่เกิดปัญหา เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้ และเมื่อเกิดความชัดเจนนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนโดยตรงในไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าอีวี อิเล็กทรอนิกส์ และทำให้การปรับโครงสร้างทำได้ดีขึ้น

“หากรัฐบาลใหม่ที่เข้ามา จะต้องมารื้องบประมาณ ทำได้หลายแบบ จะปรับเล็กคือปรับไส้ในรัฐบาลที่ได้จัดทำไว้เบื้องต้น หรือทำใหม่เลย คงต้องมาประมาณการรายได้รายจ่าย และประเมินเศรษฐกิจในช่วงถัดไป แต่เชื่อว่าไม่หนีจากที่ทำมาไว้เท่าไหร่อาจไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะดำเนินการ หากปรับเปลี่ยนงบปี หากปรับเปลี่ยนงบปี 67 ก็สามารถทำได้ทั้งหมด ทำเพื่อสอดรับกับนโยบายที่ประกาศไว้ได้ แต่การจัดทำงบประมาณต้องพิจารณาเรื่องวินัยการเงินการคลังของประเทศควบคู่ไปด้วย”

นายดนุชา กล่าวถึงนโยบายเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ เช่น การปรับขึ้นค่าแรงนั้น ต้องพิจารณาให้รอบรอบ บางเรื่องกระทบเยอะในด้านผู้ประกอบการและธุรกิจ หากกระทบอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการทำงานโดยเฉพาะอุตสาหกรรม ไปสู่ระบบอัตโนมัติมากขึ้น กระทบกับการจ้างงาน และการทำนโยบายถ้าไปเพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการ ต้องพิจารณาถึงผลดี ผลเสีย และอาจทำให้การลงทุนทางตรงของนักลงทุนต่างชาติกลับทิศได้

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 66 มีความเสี่ยงเรื่องการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก แม้ตัวเลขจะดีขึ้นแต่ความเสี่ยงยังคงอยู่ สถานการณ์ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ยืดเยื้อ ยังหาข้อสรุปไม่ง่าย เรื่องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อ และเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐ ยังเป็นความผันผวนเศรษฐกิจโลกที่ต้องจับตาต่อเนื่อง เพื่อลดแรงกระแทกจากเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตามส่วนในประเทศ หนี้สินครัวเรือนยังสูง และดอกเบี้ยขาขึ้น แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีจะลดลง แต่หนี้ในระบบยังเกิดขึ้น 14.5 ล้านล้านบาท ซึ่งยังขยายตัว และที่สำคัญคงปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ ทำให้สามารถทำธุรกิจเดินหน้าต่อได้ แต่ดูมาตรการเดิมที่กำลังจะสิ้นสุด มีอะไรมาช่วยเหลือรองรับต่อไปได้บ้าง